Post Views:
30
วันที่ 23 มิถุนายน 2564 ทางด้าน กรมการแพทย์ แชร์เตือนอย่าหลงเชื่อกรณีโลกโซเชียลมีการแชร์ข้อมูลว่าหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด อย่าเพิ่งไปทำฟัน เพราะมีคนไปฉีดยาชาที่ฟันแล้วหามส่งโรงพยาบาล ซึ่งทางด้านเพจกรมการแพทย์ ได้ออกมาระบุว่า ข่าวปลอม อย่าแชร์ เรื่องผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วได้รับการฉีดยาชาทำฟัน มีอาการเส้นเลือดตีบที่สมองและหัวใจ รักษาตัวที่สถาบันประสาทวิทยา
ตามที่ได้มีการส่งต่อข่าวสารในประเด็นเรื่อง ผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วได้รับการฉีดยาชาทำฟัน มีอาการเส้นเลือดตีบที่สมองและหัวใจ รักษาตัวที่สถาบันประสาทวิทยา ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
กรณีการเผยแพร่ข้อมูลโดยระบุว่าผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วได้รับการฉีดยาชาทำฟัน มีอาการเส้นเลือดตีบที่สมองและหัวใจ เข้ารักษาตัวที่สถาบันประสาทวิทยานั้น
ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีผู้ป่วยรายดังกล่าวเข้ารับการรักษาตัวที่สถาบันประสาทวิทยาตามที่กล่าวอ้าง
ซึ่งสถาบันประสาทวิทยาเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาทไขสันหลังของรัฐ กรณีผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 หากมีภาวะแทรกซ้อนที่สงสัยว่าเกิดจากวัคซีนและมีอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยาก็มีหน้าที่โดยตรงในการร่วมสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 สามารถเข้ารับการทำหัตถการทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยยาชาที่ใช้ทางทันตกรรม ไม่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และไม่มีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาชากับวัคซีน และผู้ป่วยที่ต้องการตรวจหรือทำทันตกรรม ควรเข้ารับบริการกับสถานบริการทางทันตกรรมและผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ: ไม่มีผู้ป่วยรายดังกล่าวเข้ารับการรักษาตัวที่สถาบันประสาทวิทยาตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 สามารถเข้ารับการทำหัตถการทางทันตกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยยาชาที่ใช้ทางทันตกรรม ไม่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และไม่มีปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาชากับวัคซีน

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข