หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำ ที่ 2,779 ลบ.ม.ต่อวินาที กระแสน้ำไหลเชี่ยวกราดลงสู่พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำได้ซัดแนวป้องกันน้ำท่วมฝั่งทิศใต้ของวัดจุฬามณี ที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล พังลงอย่างง่ายดาย ทำให้น้ำไหลวัดจุฬามณี สูงเกือบ 2 เมตร ชุมชนรอบวัดสูงถึง 1.5-3 เมตร แล้วแต่สภาพพื้นดินชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาเป็นเวลาเกือบ 2 อาทิตย์แล้ว
ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ไปยัง วัดจุฬามณี ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตรวจสอบความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นเช่นไรหลังน้ำท่วมวัด พบว่า ทางวัดได้ทำสะพานไม้และเหล็กเชื่อมต่อไปยังศาลา กุฏิพระ โบส์ และหมู่บ้าน สูงเหนือน้ำที่ท่วมเต็มพื้นที่วัด สูง 1.7 เมตร เพื่อที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ทำกิจวัตรของสงฆ์ได้ตามปกติ ทีมข่าวได้มีโอกาศพูดคุยกับ พระครูปัญญาจุฬารักษ์ เจ้าอาวาส วัดจุฬามณี หลังวัดถูกน้ำท่วม เจ้าอาวาส เผยว่า ตอนนี้ลำบาก ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ตอนแรกเตรียมการรับมือน้ำท่วมไว้อาทิตย์เพื่อที่จะไม่ให้น้ำท่วมวัดเลย เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยวางแนวกั้นกระสอบทรายและคันดินรอบวัด แต่ถูกกระแสน้ำพัดพังหมดเพราะต้านแรงดันน้ำไม่ไหว น้ำปีนี้แรงกว่าปี 54 ไม่ไหวก็ต้องปล่อยไปตามนั้น ส่วนเรื่องอาหารและยา ก็ไม่ค่อยสะดวก บางองค์ต้องไปหาหมอ อาตมาเองก็เป็นโรคหัวใจ ต้องทำบายพาส ที่ รพ.พญาไท กทม. หากมีผู้ใจบุญก็ขอให้นำปัจจัยมาถวายให้ที่วัด ทั้งนี้ เจ้าอาวาสได้ให้คำสอนธรรมะทางใจ ว่า “ขอให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ทำใจและปล่อยวางบ้าง เพราะว่ามันเป็นอุทกภัยทางธรรมชาติ มันแก้ไขไม่ได้ต้องทำใจด้วยตนเอง”
ขณะที่ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ วัดจุฬามณี เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมระบุว่า ในวันนี้ได้นำข้าวสารอาหารแห้งและอาหารสดนำมาถวายให้กับพระภิกษุสงฆ์ก่อน ส่วนระยะยาวการตัดการน้ำ กรมชลประทานเรา ในสถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากฝนตกน้อยลงในหลายพื้นที่ น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก็ถือว่าลดลงเมื่อจากการลงพื้นที่ไปตรวจสอบมาเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2564 การระบายน้ำยังต้องมีอยู่แต่คงค่อยๆปล่อยระบายมาเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน ส่วน อ.บางบาล อ.บางกุ้ง ทางโครงการบำรุงรักษาและส่งน้ำมหาราช ในพื้นที่ก็จะเข้ามาดูแลคันดินในจุดต่างๆที่อาจจะมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำเอ่อล้นได้ เราต้องเตรียมเครื่องสูบน้ำเพื่อรอเร่งระบายออกหากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลด คาดว่าในอีก 2-3 วัน หากไม่มีฝนตกในพื้นที่ก็จะดำเนินตามที่วางแผนไว้
ด้าน นายสุรศักดิ์ รังรองธานินทร์ ผู้อำนวยการโครงการบำรุงรักษาและส่งน้ำมหาราช เผยว่า ตอนนี้ได้กั้นคันดิน สูง 1 เมตร กินพื้นที่ 2 กิโลเมตร รอบตัวเมืองอยุธยา พร้อมเปิดประตูน้ำ อ.บางบาล และ อ.บางกุ้ง ระบายน้ำเพิ่มขึ้นแล้ว น้ำในทุ่งก็จะเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุ่งดังกล่าวมีการวางแผนที่จะปล่อยเข้าไปเก็บกักอยู่แล้ว ซึ่งถ้าน้ำมีจำนวนมากขึ้นก็จะมีผลกระทบต่อพื้นที่ด้านใน ซึ่งเราก็จะระบายน้ำเข้าในเกณที่เหมาะสม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวรับน้ำไปแล้วประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และจะรับได้อีก 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถ้าระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีก คงอีก 2-3 วัน น้ำก็จะเต็มจำนวนที่จำกัด
นายสุรศักดิ์ ผอ.โครงการบำรุงรักษาและส่งน้ำมหาราช กล่าวอีกว่า หลังจากที่ได้พูดคุยกับชาวบ้านแล้ง เย็นวันนี้จะเปิดประตูน้ำ อ.บางกุ้ง เปิดเพิ่มวันนี้ อีก 10 เซนติเมตร เป็น 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อป้องกันมวลน้ำจำนวนมากส่งผลให้แนวตลิ่งท้ายน้ำได้รับผลกระทบเสียหาย โดยน้ำทั้งหมดจะไหลลง ทุ่งทับน้ำ ทุ่งมหาราช ทุ่งป่าโมก ซึ่งมีหลายตำบลท้ายน้ำได้รับผลกระทบ จะไหลลงพื้นที่ กว่า 17,000 ไร่